โนรา เป็นศิลปะพื้นบ้านของภาคใต้ เรียกว่า โนรา แต่คำว่า มโนราห์ หรือมโนห์รา นั้น เป็นคำที่เกิดขึ้นมาเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยการนำเอาเรื่อง พระสุธน-มโนราห์มาแสดงเป็นละครชาตรี จึงมีคำเรียกว่า มโนราห์ ส่วนกำเนิดของโนรานั้น สันนิษฐานกันว่าได้รับอิทธิพลจากการ ร่ายรำของอินเดียโบราณก่อนสมัยศรีวิชัย ที่มาจากพ่อค้าชาวอินเดีย สังเกตได้จากเครื่องดนตรีที่เรียกว่า เบญจสังคีตซึ่งประกอบด้วย โหม่ง ฉิ่ง ทับ กลอง ปี่ใน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีโนรา และท่ารำของโนรา อีกหลายท่าที่ละม้ายคล้ายคลึงกับการร่ายรำของทางอินเดีย และเริ่มมีโนราเป็นกิจจะลักษณะขึ้นเมื่อประมาณปี พุทธศักราชที่ 1820 ซึ่งตรงกับสมัยสุโขทัยตอนต้น
การทำชุดมโนราห์เป็นงานศิลปะที่สืบสานมาจากบรรพบุรุษที่มีความประณีตอันวิจิตรในแบบเครื่องทรงที่ประดับเรือนร่างมโนราห์ ซึ่งปัจจุบันเครื่องแต่งกายชุดมโนราห์ส่วนใหญ่ที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดนัดมีความต่างไปจากอดีต เพราะเริ่มหาความประณีตอันวิจิตรในแบบเครื่องทรงที่ครูมโนราห์รุ่นบรรพบุรุษ สืบทอดไว้จนมีคนรุ่นใหม่และคณะมโนราห์ต่าง ๆ ในท้องถิ่น อนุรักษ์ศิลปะการร้อยลูกปัดชุดมโนราห์ในท้องถิ่นภาคใต้แขนงนี้ไว้ ตลอดจนสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่น ควบคู่สืบสานศิลป์แขนงนี้ให้คงอยู่สืบไป ด้วยการนำลูกปัดขนาดเล็กมาคัดแยกสี ขนาด จากนั้นร้อยเป็นเส้นตามต้องการ ก่อนนำด้ายที่ร้อยมาผูกรวมกัน เพื่อประกอบเป็นชิ้นส่วนต่างๆ ของชุดอันประกอบด้วย
- เทริด 1 หัว
- ปิ้งคอ
- บ่า 2 ชิ้น
- รัดอก
- หางหงษ์
- ปิดสะโพก
- สร้อยคอ 1 เส้น
- เล็บ 8 ชิ้น
- ผ้าห้อยและหน้าผ้า 7 ผืน
- กางเกงมโนราห์ 1 ตัว
- ผ้าโจงกระเบน 1 ผืน
ทำให้ได้ชุดลูกปัดมโนราห์ทั้งชุด ที่มีราคาถูกกว่าท้องตลาด ด้วยฝีมือที่ยังคงไว้รูปลักษณ์ในแบบฉบับการแต่งองค์ทรงเครื่องยุคอดีตไว้ทุกกระเบียดนิ้ว
เครื่องแต่งกาย
เทริด เป็นเครื่องประดับศีรษะของตัวนายโรงหรือโนราใหญ่หรือตัวยืนเรื่อง (โบราณไม่นิยมให้นางรำใช้) ทำเป็นรูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า มีด้ายมงคลประกอบ
เครื่องดนตรี
ทับ (โทนหรือทับโนรา) เป็นคู่ เสียงต่างกันเล็กน้อย ใช้คนตีเพียงคนเดียว เป็นเครื่องตีที่สำคัญที่สุดเพราะทำหน้า คุมจังหวะและเป็นตัวนำในการเปลี่ยนจังหวะทำนอง (แต่จะต้องเปลี่ยนตามผู้รำ ไม่ใช่ผู้นำ เปลี่ยนจังหวะลีลาตามดนตรี ผู้ทำหน้าที่ตีทับจึงต้องนั่งให้มอง เห็นผู้รำตลอดเวลา และต้องรู้เชิง ของผู้รำ)
องค์ประกอบหลักของการแสดง
การรำ โนราแต่ละตัวต้องรำอวดความชำนาญและความสามารถเฉพาะตน โดยการรำผสมท่าต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างต่อเนืองกลมกลืน แต่ละท่ามีความถูกต้องตามแบบฉบับ มีความคล่องแคล่วชำนาญที่จะเปลี่ยนลีลาให้เข้ากับจังหวะดนตรี และต้องรำให้สวยงามอ่อนช้อยหรือกระฉับกระเฉงเหมาะแก่กรณี บางคนอาจอวดความสามารถในเชิงรำเฉพาะด้าน เช่น การเล่นแขน การทำให้ตัวอ่อน การรำท่าพลิกแพลง เป็นต้น
โนราลงแข่ง (ประชันโรง)
การแข่งโนรา หรือ มโนราห์ประชันโรง เพื่อพิสูจน์ว่าใครเล่นหรือรำดีกว่า มีศิลป์ในการรำเป็นอย่างไรการว่ามุตโต (กลอนสด) ดีกว่ากัน ถ้าโรงไหนดีกว่าโรงนั้นก็จะมีคนดูมาก และเป็นผู้ชนะ การแข่งขันมโนราห์นี้มีพิธีที่คณะมโนราห์ต้องทำมาก กลางคืนก่อนแข่งมีการไหว้ครูเชิญครู และเอาเทริดผู้ไว้ที่เพดานโรง เอาหมาก 3 คำและจุดเทียนตามเอาไว้ จากนั้นหมอก็ทำพิธีเปิดตู (ประตู) กันตู (ประตู) โดยชักสายสิญจน์กันไว้ หมอและคณะจะไม่นอนกันทั้งคืน หมอทำพิธีประพรมน้ำมนต์ไปเรื่อย ๆ (หมอประจำโรงต้องจ้างเป็นพิเศษกับคณะ สมัยก่อนเมื่อมีการแข่งครั้งหนึ่งหมอจะได้รับค่าจ้าง 1 เหรียญ หรือ 50 เบี้ย)
ท่านำมโนราห์ ท่านำมโนราห์ที่เป็นหลักๆ นั้นเมื่อแกะออกมารวมประมาณ 83 ท่ารำ ดังนี้
ท่าประถม (ปฐม)
1. ตั้งต้นเป็นประถม
2. ถัดมาพระพรหมสี่หน้า
3. สอดสร้อยห้อยเป็นพวงมาลา
4. เวโหนโยนเช้า
5. ให้น้องนอน